บทความ

  • จักรยาน ฟิกเกียร์

    22:15  fixed bike, จักรยานฟิกเกียร์, ประเภทจักรยาน, ฟิกเกียร์  3 comments    จักรยานประเภทนี้นั้น จะมีความคล้ายคลึงกับจักรยานที่ใช้สำหรับแข่งขันในประเภทลู่ แต่ถูกผลิตหรือดัดแปลงมาเพื่อใช้บนถนนทั่วไป จักรยานประเภทนี้จะไม่มีเกียร์นะครับ คือจะมีเฟืองหลังเพียงอันเดียว และที่สำคัญมันฟรีเท้าไม่ได้นะครับ ในปัจจุบันผมเห็นกลุ่มวัยรุ่นหันมาขี่จักรยานฟิกเกียร์กันเยอะพอสมควร แต่เห็นว่า จักรยาน ประเภทฟิกเกียร์ที่ใช้บนท้องถนนนั้น ได้เข้ามาในเมืองไทยหลายปีแล้วครับแต่ได้รับความนิยมเพียงกลุ่มเล็กๆ เช่นนักเรียน หรือผู้ที่ไปศึกษาที่ต่างประเทศพอเรียนจบกลับบ้านที่ประเทศไทยก็จะนำจักรยานของตัวเองกลับมาด้วย เพื่อเอามาปั่นในเมืองไทย (ตอนที่ผมไปหาซื้ออะไหล่จักรยาน ผมก็เคยเจอ ดารานักแสดงบ้านเรา เขาก็ขี่จักรยานประเภทนี้กันหลายคนครับ เช่น คุณ เจ มณฑล และ อีกหลายคนผมจำชื่อ ไม่ค่อยได้ครับ แต่ก็เจอบ่อยเหมือนกันครับ) แต่ในต่างประเทศนั้นจักรยานฟิกเกียร์นั้นโดย ทั่วไปแล้วจะเป็นจักรยานที่เขาใช้ในการส่งเอกสาร หรือผู้ที่ทำงานทางด้านส่งเอกสารระหว่างบริษัทที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก และต้องการความเร่งด่วนในการส่งเอกสารมากๆ จึงต้องใช้บริการของพวกเขาเหล่านี้ ด้วยการที่เป็นจักรยานที่มีความคล่องตัวสูง และประกอบกับไม่ต้องการ การดูแลรักษามาก อีกทั้งในปัจจุบันได้มี กลุ่มวัยรุ่น หันมาตกแต่ง จักรยานฟิกเกียร์ ของตนให้มีสีสันสวยงามสดุดตา จึงยิ่งทำให้จักรยานประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก กว่าแต่ก่อนที่มีกลุ่มที่ปั่นเพียงกลุ่มเล็กๆข้อควรระวังในการขี่จักรยานฟิกเกียร์ สำหรับนักปั่นมือใหม่ผมขอแนะนำ ว่าควรติดตั้ง ระบบเบรค ไว้ด้วยนะครับ เพราะผมเห็นหลายคนซื้อจักรยานประเภทนี้มาใหม่ๆ และอาจจะเห็นของเพื่อนๆ ไม่ได้ ติดตั้งเบรค นั้นอาจเป็นเพราะว่าเพื่อนของคุณขี่จักรยานประเภทนี้มานาน และมีความชำนาญในการบังคับ และควบคุม ต่างจากนักปั่นมือใหม่ ที่ยังไม่รู้จังหวะในการหยุดรถ จักรยานฟิกเกียร์ เพราะมันต้องอาศัยประสบการณ์และทำความคุ้นเคยกับมันพอสมควรหลายท่านเวลาไปหาซื้อจักรยานฟิกเกียร์มา คงสังเกตุเห็นว่าบางร้านเขาจะ ติดตั้งที่รัดเท้า ติดมากับบรรไดรถจักรยานด้วย หลายคนมักเรียกว่า "ตะกร้อรัดเท้า" นั่นแหละครับ ผมแนะนำว่ามือใหม่เวลาท่านปั่นไม่ควรรัดเท้าติดกับบรรได ควรปล่อยแบบหลวมๆ ไว้ นะครับเพราะเวลาท่านจอดรถท่านจะต้อง เจอกับปัญหา ที่ว่าถอดเท้าไม่ออก หรือ ลืมจึงถอดออกไม่ทันแล้วคุณก็ล้ม ลงตรงนั้นอาจจะไม่เจ็บมาก แต่ถ้าล้มต่อหน้า สาวๆ แล้วคงไม่ต้องให้ผมบรรยายนะครับว่า มันหน้าอายมากแค่ใหนแทบจะแทรก หรือมุดดินให้ตัวเองหายไปตรงนั้นเลยครับ ไม่ต้องคิดอะไรมากครับขนาดมือ เก๋าๆ บางคนยังลืมได้เลย ของมันลืมกันได้ครับ แต่ยังไงความปลอดภัย ก็ต้องมาเป็นอันดับแรก นะครับ ขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆสนุกกับการปั่นจักรยานที่ตัวเองรักนะครับ และก็ต้องขอบอก บ๊าย บาย!! ก่อนจบบทความผมหา คลิปวีดีโอ การปั่นฟิกเกียร์ จาก Youtube มาฝากด้วยครับ เชิญชมได้ตามสบายนะครับ     จักรยานประเภทนี้นั้น จะมีความคล้ายคลึงกับจักรยานที่ใช้สำหรับแข่งขันในประเภทลู่ แต่ถูกผลิตหรือดัดแปลงมาเพื่อใช้บนถนนทั่วไป จักรยานประเภทนี้จะไม่มีเกียร์นะครับ คือจะมีเฟืองหลังเพียงอันเดียว และที่สำคัญมันฟรีเท้าไม่ได้นะครับ ในปัจจุบันผมเห็นกลุ่มวัยรุ่นหันมาขี่จักรยานฟิกเกียร์กันเยอะพอสมควร แต่เห็นว่า จักรยาน ประเภทฟิกเกียร์ที่ใช้บนท้องถนนนั้น ได้เข้ามาในเมืองไทยหลายปีแล้วครับแต่ได้รับความนิยมเพียงกลุ่มเล็กๆ เช่นนักเรียน หรือผู้ที่ไปศึกษาที่ต่างประเทศพอเรียนจบกลับบ้านที่ประเทศไทยก็จะนำจักรยานของตัวเองกลับมาด้วย เพื่อเอามาปั่นในเมืองไทย (ตอนที่ผมไปหาซื้ออะไหล่จักรยาน ผมก็เคยเจอ ดารานักแสดงบ้านเรา เขาก็ขี่จักรยานประเภทนี้กันหลายคนครับ เช่น คุณ เจ มณฑล และ อีกหลายคนผมจำชื่อ ไม่ค่อยได้ครับ แต่ก็เจอบ่อยเหมือนกันครับ) แต่ในต่างประเทศนั้นจักรยานฟิกเกียร์นั้นโดย ทั่วไปแล้วจะเป็นจักรยานที่เขาใช้ในการส่งเอกสาร หรือผู้ที่ทำงานทางด้านส่งเอกสารระหว่างบริษัทที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก และต้องการความเร่งด่วนในการส่งเอกสารมากๆ จึงต้องใช้บริการของพวกเขาเหล่านี้ ด้วยการที่เป็นจักรยานที่มีความคล่องตัวสูง และประกอบกับไม่ต้องการ การดูแลรักษามาก อีกทั้งในปัจจุบันได้มี กลุ่มวัยรุ่น หันมาตกแต่ง จักรยานฟิกเกียร์ ของตนให้มีสีสันสวยงามสดุดตา จึงยิ่งทำให้จักรยานประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก กว่าแต่ก่อนที่มีกลุ่มที่ปั่นเพียงกลุ่มเล็กๆข้อควรระวังในการขี่จักรยานฟิกเกียร์ สำหรับนักปั่นมือใหม่ผมขอแนะนำ ว่าควรติดตั้ง ระบบเบรค ไว้ด้วยนะครับ เพราะผมเห็นหลายคนซื้อจักรยานประเภทนี้มาใหม่ๆ และอาจจะเห็นของเพื่อนๆ ไม่ได้ ติดตั้งเบรค นั้นอาจเป็นเพราะว่าเพื่อนของคุณขี่จักรยานประเภทนี้มานาน และมีความชำนาญในการบังคับ และควบคุม ต่างจากนักปั่นมือใหม่ ที่ยังไม่รู้จังหวะในการหยุดรถ จักรยานฟิกเกียร์ เพราะมันต้องอาศัยประสบการณ์และทำความคุ้นเคยกับมันพอสมควรหลายท่านเวลาไปหาซื้อจักรยานฟิกเกียร์มา คงสังเกตุเห็นว่าบางร้านเขาจะ ติดตั้งที่รัดเท้า ติดมากับบรรไดรถจักรยานด้วย หลายคนมักเรียกว่า "ตะกร้อรัดเท้า" นั่นแหละครับ ผมแนะนำว่ามือใหม่เวลาท่านปั่นไม่ควรรัดเท้าติดกับบรรได ควรปล่อยแบบหลวมๆ ไว้ นะครับเพราะเวลาท่านจอดรถท่านจะต้อง เจอกับปัญหา ที่ว่าถอดเท้าไม่ออก หรือ ลืมจึงถอดออกไม่ทันแล้วคุณก็ล้ม ลงตรงนั้นอาจจะไม่เจ็บมาก แต่ถ้าล้มต่อหน้า สาวๆ แล้วคงไม่ต้องให้ผมบรรยายนะครับว่า มันหน้าอายมากแค่ใหนแทบจะแทรก หรือมุดดินให้ตัวเองหายไปตรงนั้นเลยครับ ไม่ต้องคิดอะไรมากครับขนาดมือ เก๋าๆ บางคนยังลืมได้เลย ของมันลืมกันได้ครับ แต่ยังไงความปลอดภัย ก็ต้องมาเป็นอันดับแรก นะครับ ขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆสนุกกับการปั่นจักรยานที่ตัวเองรักนะครับ และก็ต้องขอบอก บ๊าย บาย!! ก่อนจบบทความผมหา คลิปวีดีโอ การปั่นฟิกเกียร์ จาก Youtube มาฝากด้วยครับ เชิญชมได้ตามสบายนะครับ

  • มารู้วิธีปะยางจักรยานกัน..

    มารู้วิธีปะยางจักรยานกัน..วันนี้ผมออกไปปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกายตามปรกติ พอปั่นไปได้ประมาณ 20 กว่ากิโลเมตร ผมสังเกตุ เห็นยางจักรยานด้านหลัง มันจะยวบๆ ผิดปรกติ ผมเลยจอดแล้วลองเอามือ ขวาบีบดู ก็รู้ทันทีว่า โดนแจ๊กพอตแล้วเรา เพราะมันน่วมเลย แต่ยังโชคดีที่รูมันไม่ค่อยใหญ่มาก แค่ซึมๆ ผมเลยรีบปั่นกลับบ้านทันที ตอนปั่นกลับก็สังเกตุไปด้วยว่ายางมันแบนกว่าเดิมมากหรือเปล่า ถ้าแบนมากผมถึงจะจอดแล้วเปลี่ยนยางใน แต่มันแค่ซึมเลยสามารถปั่นประคอง กลับถึงบ้านได้พอดีครับ นี่ขนาดว่าผมเป็นคนที่สังเกตุเส้นทางตอนปั่นดีแล้วนะครับยังพลาดได้ อย่างนี้คงต้องโทษพวกคนที่มักง่าย ชอบทิ้งขวดแก้วเปล่าตามข้างทาง ผมขอบ่นหน่อยนะครับ เวลาผมออกไปปั่นจักรยาน จะเจอบ่อยมากครับ พวกขวดเบียร์, ขวดเครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย ไม่รู้ว่าเขาทิ้งลงมากันได้ยังไง ผมว่าพวกนี้บาปมากครับ ไม่คำนึงถึงตอนพระท่านออกบิณฑบาต ตอนเช้าๆ ท่านอาจโดนเศษแก้วเหล่านี้บาดเท้าเอาได้ครับ ผมไม่ชอบเลยครับพวกมักง่ายพวกนี้ บางทีปั่นจักรยานออกกำลังกายไป ก็เห็นเขาขว้างออกมากจากรถซะงั้น เห็นแล้วเพลียใจจริงๆ ครับพวกนี้ไหนๆ ยางก็รั่วไปแล้วก็ต้องกลับมาปะกันละครับทีนี้ วันนี้ผมเลยจะมาแชร์ วิธีปะยางรถจักรยาน ให้เพื่อนๆ ได้ทำกันเองได้ครับ หลายคนอาจจะยังทำไม่เป็น ส่วนท่านที่ทำเป็นแล้วก็อ่านอีกได้ครับ เพราะวิธีของผมอาจจะไม่เหมือนใคร เพราะผมเป็นคนค่อนข้างละเอียด เวลาทำอะไรแล้วต้องทำให้ดีครับ เปรียบได้กับงานศิลปะ ที่ต้องทำให้เนียนครับ เพ้อไปนั่น!! งั้นเรามาดูกันเลยครับ ว่าทำกันยังไงอุปกรณ์ในการปะยางจักรยานอุปกรณ์สำหรับงัดยางออกมาจากขอบล้อ ที่เห็นเป็นสีขาว, น้ำเงิน และแดง นั่นแหละครับ โดยส่วนตัวผมจะไม่ใช้ที่มันโลหะครับเพราะว่า มันจะทำให้ขอบล้อของเราเป็นรอยได้ง่ายครับ ผมเลยเลือกที่เป็นพลาสติกกระดาษทรายใช้เบอร์ประมาน 180 กระดาษทราย เบอร์ยิ่งเยอะยิ่งหยาบครับ เช่น เบอร์ 1000 นี้ละเอียดมากครับ แต่มันใช้ปัดยางไม่ค่อยเข้าครับ ผมจะแนะนำให้ใช้ ระหว่าง เบอร์ 150 - 180 ครับผมคิดว่ากำลังดีเลยสำหรับยางรถจักรยาน ครับกาวสำหรับปะยางครับ หลอดละ 5 บาท เดี๋ยวนี้ราคาอาจจะขึ้นแล้วครับ ผมว่าไม่น่าเกิน 10 บาทครับ หรืออาจจะซื้อเป็นกระป๋องก็ได้ครับ ยี่ห้อ KKK หากใครจะรับจ๊อบหารายได้พิเศษด้วยการบริการรับปะยาง ผมแซวเล่นนะครับยางสำหรับปะแบบสำเร็จรูปครับ อันละ 1 - 2 บาท แล้วแต่ร้านที่เราไปซื้อครับเขาขายราคาไม่เท่ากันครับส่วนที่เห็นเป็นน็อต สีทองๆ นั้นไม่เกี่ยวครับ พอดีมันแอบมาโชว์ตัว หลายท่านอาจไม่ทราบครับว่ามันมีไว้ทำอะไร ผมบอกให้ก็ได้ครับ มันเป็นอแดปเตอร์ สำหรับต่อที่จุกลมจักรยานเสือหมอบ ครับให้เราสามารถสูบลม โดยใช้ที่สูบลมทั่วไปได้ครับ ผมจะเอาติดตัวไปด้วยครับเวลาออกไปปั่นจักรยาน เพราะหากเกิดยางรั่วขึ้นมา หากเราเปลี่ยนยางแล้ว เวลาเราสูบลมเข้าไปโดยใช้ที่สูบลมแบบพกพา มันจะสูบได้ไม่แข็งครับ ผมเลยพกเจ้าน็อตตัวนี้ไปด้วยเผื่อเวลาเจอปั้มน้ำมัน หรือร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ จะได้เข้าไปสูบลมเพิ่มให้แข็งตามต้องการได้ครับ ผมว่ามันสำคัญนะครับขั้นตอนในการปะยางรถจักรยานใช้ที่งัดยางทำการงัดยางออกมาจากล้อจักรยาน ขั้นตอนนี้ผมไม่ได้ถ่ายรูปไว้ผมต้องขออภัยไว้ด้วยครับนำยางในออกมาสูบลมเข้าพอประมานตามรูปครับ ไม่ต้องสูบเยอะครับแค่พอประมาณก็พอครับแล้วนำไปจุ่มน้ำเพื่อหารอยรั่วครับพอเราเจอรอยรั่ว แล้วเราก็ใช้ปากกาทำเครื่องหมายไว้ครับ สังเกตุ ผมจะวงกลมไว้ แล้วใช้กระดาษทรายที่เราเตรียมไว้ขัดรอบๆ จุดที่เราทำเครื่องหมายไว้ก่อนจะได้ไม่หลงครับ พอขัดรอบๆ เสร็จเราก็ขัดตรงกลางที่เราทำเครื่องหมายไว้ได้เลยครับ ส่วนจะขัดให้กว้างขนาดไหนนั้น เราจะขัดให้กว้างกว่า ที่ปะยางสำเร็จรูปนิดหน่อยครับ เวลาขัดก็ไม่ต้องออกแรงกดมากครับแค่ลูบๆ ก็พอครับเดี๋ยวยางทะลุครับ จุดประสงค์แค่ให้พื้นผิวสะอาดก่อนที่เราจะทากาวแค่นั้นเองครับพอขัดเสร็จก็ทากาวได้เลยครับ ทาให้ทั่วตรงบริเวณที่เราขัดทำความสะอาดครับไม่ต้องหนามากครับพอดีๆ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2- 3 นาที เพื่อให้กาวแห้ง และหายเยิ้มครับนำที่ปะยางสำเร็จรูปแปะไปตรงที่เราทากาวไว้ครับ แล้วบีบนวดให้แน่นๆ เพื่อให้ทั้งสองส่วนติดกันดีขึ้นครับลอกแผ่นลองยางสำเร็จรูปออกครับ จะได้ยางที่ปะแล้วอย่างสวยงาม แล้วสามารถนำไปใช้ในโอกาสต่อไปได้ครับ ประหยัดดีครับ ไม่ต้องซื้อใหม่บ่อยๆม้วนยางเก็บให้เรียบร้อยสวยงาม โอ้ว!! เหมือนตอนที่ซื้อมาใหม่ๆ เลย แต่ขอโทษ เส้นนี้ 2 แผลแล้วครับ ประหยัดเงินในการเป๋าไปได้ 200 กว่าบาท อีกต่างหากและแล้วเราก็ได้ยางที่ทำการปะเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถนำติดตัวไว้ เวลาออกไปปั่นจักรยานครั้งต่อไป เพื่อเป็นยางอะไหล่ เวลาเกิดยางรั่วได้ครับ เห็นไหมครับว่ามันไม่ยากเลย ลองหัดทำดูกันได้ครับ แถมยังประหยัดเงินอีกด้วยครับ ก่อนปะก็ดูสภาพยางก่อนนะครับ หากมันดูเปื่อยยุ่ย มีรอยถลอกเยอะๆ ก็ควรเปลี่ยนใหม่ดีกว่าครับ

  • ออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน.....เพื่อสุขภาพ

    ทางเลือกหรือทัศนะของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันอีกทางเลือกหนึ่งที่อยากแนะนำคือการปั่นจักรยานแบบ Fitness จักรยานแบบเสือภูเขาและจักรยานเสือหมอบ จะมีลักษณะและประโยชน์แตกต่างกันไปการปั่นจักรยานอยู่กับที่หรือจักรยาน Fitness ที่มีขายกันตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปเป็นจักรยานชนิดที่ช่วยให้เราได้ใช้พลังงานในการออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่งมีข้อดีอยู่มากมายใกล้เคียงกับการวิ่งจ๊อกกิ้งในการเผาผลาญพลังงานแถมยังดีกว่าตรงที่ไม่มีแรงกระแทกที่เกิดขึ้นกับข้อต่อต่างๆคล้ายกับการเต้นแอโรบิคในน้ำเพียงแต่บางคนจะรู้สึกเบื่อเท่านั้นยิ่งถ้าเป็นคนขี้เหงาจะไม่ค่อยชอบแต่ขอแนะนำให้ไปปั่นจักรยานชนิดนี้หน้า TV และเป็นรายการที่เราชอบเช่นละครที่ทำให้เพลิดเพลินซักครึ่งชั่วโมงก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อร่างกายของเราการปั่นจักรยานแบบดังกล่าวเราจะปั่นอยู่บนที่ี่ราบขนานกับพื้น แบบนี้แนะนำว่าเหมาะกับผู้ที่มีอายุมากขึ้นอีกนิดเพราะที่นั่งไม่สูงนักถ้าเกิดหน้ามืดตามัวขึ้นมายังล้มหรือตกลงมาจากที่นั่งไม่สูงนักแรงกระแทกจะน้อยลงอีกอย่างคือคนไข้ที่เป็นโรคปวดหลังจะเหมาะอย่างยิ่งขอแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยวิธีนี้เพราะน้ำหนักตัวของเขาจะถูกแบกรับโดยอานเท่านั้นไม่มีแรงกระแทกน้ำหนักตัวตั้งแต่ก้นไปจนถึงศีรษะอานจะเป็นตัวรับน้ำหนักไว้หมดเลยคนที่เป็นโรคปวดหลังหรือคนอ้วนไม่เหมาะกับการไปวิ่งจ๊อกกิ้งแต่ถ้านั่งขี่จักรยานพื้นราบน้ำหนักตัวทั้งหมดจะตกที่อานกับที่รองนั่งฉะนั้นเวลาถีบจะไม่มีแรงกระทำต่อข้อต่อมากไม่มีแรงกระแทกจึงเหมาะมากสำหรับคนอ้วนหรือผู้ที่ปวดหลังแต่แถมอีกนิดว่าสิ่งสำคัญที่จะให้ได้ผลดีคือเราต้องใช้เวลาของความหนักในการออกกำลังที่กำหนดให้ตามหลักของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคคือให้ชีพจรของเราเต้นสูงขึ้นถึงระดับ 70% ซึ่งคำนวณง่ายๆก็คือ 170 -อายุโดยประมาณระดับนี้จะถึงจุดที่หัวใจปอดและหลอดเลือดต่างๆทำงานในระดับที่ได้ผลดีและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่งจักรยานเสือภูเขา ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ จำเป็นไหมว่าจะต้องเป็นนักกีฬาเท่านั้นถึงจะขี่จักรยานประเภทนี้ได้ ส่วน อันตรายจากการปั่นจักรยานประเภทนี้มีหรือไม่ และจะได้ประโยชน์ อย่างไรบ้าง…?จักรยานเสือภูเขาถือว่ากำลังเป็นที่นิยมกันมาก เพราะเป็นจักรยานที่ใช้ในการผจญภัย ให้ความสนุกสนานเป็นประโยชน์หลายทางทั้งร่างกายและจิตใจแต่อย่างไรก็ตามก็มีอันตรายอยู่ อย่างหนึ่งคือ ถ้าเกิดอุบัติเหตุรถล้ม หากไม่รุนแรงก็แค่ถลอก แต่ถ้ารุนแรงหน่อย ก็อาจมีกระดูกหักได้บ้างสำหรับผู้ที่ปั่นจักรยานเสือภูเขาส่วนใหญ่จะต้องฝึกตนเอง ให้มีความอดทนสูงในด้านพลังกล้ามเนื้ออาจจะต้องเล่น Weight Training คือการฝึกกล้ามเนื้อด้วยน้ำหนัก เพราะจักรยานเสือภูเขามันจะต่างกับจักรยานท่องเที่ยวทั่วไปที่ว่าพื้นที่ที่ใช้ขับขี่มักจะเป็นพื้นที่ราบชัน การมีพลังกล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยให้ใช้จักรยานพวกนี้ได้ดีกว่าการปั่นจักรยานประเภทเสือหมอบ พวกนี้ใช้ระยะทางไกลและซ้อมหนักวันหนึ่ง ๆ 3-5 ชั่วโมง ผู้ที่เป็นนักปั่นประเภทนี้มักจะปั่นระยะทางไกลข้ามจังหวัดกันเลยจะมีปัญหาก็ตรงเรื่องของอานซึ่งมันมีีลักษณะเรียวและถ้าปั่นไประยะทางไกลๆจะเกิดการเสียดสีอยู่นาแต่ขอแนะนำว่าไม่ต้องหวั่นกลัวถ้าผูู้้ที่เป็นนักปั่นจักรยานที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานอย่างจริง ๆ ปัจจุบันมีอานที่เขาผลิตออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้วิตกเป็นอานชนิดพิเศษซึ่งจะมีร่องบากตรงกลางอานตามแนวยาวซึ่งตอนนี้มีจำหน่ายในเมืองไทยแล้ว ผู้ที่เป็นนักปั่นจักรยานประเภทนี้ก็เริ่มจะนำมาใช้กันเพิ่มขึ้นสรุปแล้วการปั่นจักรยานลักษณะดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ถือเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพทั้งสิ้น !

  • ประวัติ ความเป็นมา จักรยาน

     รถจักรยาน เป็นพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนไปโดยกำลังของกล้ามเนื้อมนุษย์ รถจักรยานนอกจากจะต้องเบา ก็จะต้องมีความฝืดที่เกิดขึ้นระหว่าง ล้อกับพื้นดินน้อยที่สุด และอาจจะเพิ่มความเร็วให้มากขึ้นได้พอสมควร      ก่อนคริสต์ศักราช 2300 ปี ชาวจีนได้ประดิษฐ์ยานพาหนะทางบกที่มีลักษณะคล้ายรถจักรยานขึ้น และต่อมาชาวอียิปต์ และอินเดียก็ได้ประดิษฐ์ขึ้นเช่นเดียว กันแต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง      ในปี ค.ศ. 1790 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Count Mede de Sivrac ได้ประดิษฐ์ยานพาหนะคล้ายรถจักรยาน ประกอบด้วยล้อ 2 ล้อ เชื่อมกันด้วยไม้ ทำเป็นรูป คล้ายหลังม้า หรือหลังสัตว์ต่างๆ และเคลื่นที่ไปข้างหน้าด้วยการไสด้วยเท้า ใช้ชื่อยานพาหนะนี้ว่า Celerifere หรือ Velocifere มาจากภาษาลาติน Cefer แปลว่า เร็ว และ Fere แปลว่า บรรทุก      ต่อมาในระหว่างปี ค.ศ. 1816 - 1818 Baron Karl Friedrich von drais de Sauerbrun ชาวเยอรมันได้ปรับปรุง Celerifere ด้วยการเพิ่มอุปกรณ์ สำหรับบังคับทิศทาง และมีที่นั่งที่มีสปริง และถือว่าเป็นรถจักรยานคันแรก ของโลก      ในฝรั่งเศษ ได้นำมาใช้ และให้ชื่อว่า Draiseinne เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้ ประดิษฐ์ขึ้น ศาสตราจารย์ David Gordon Wilson แห่ง MIT ได้กล่าวว่า von Drais เป็นผู้ประดิษฐ์จักรยานคันแรกของโลกสำหรับในอังกฤษ ไม่เห็นด้วยกับชื่อที่ฝรั่งเศษได้ตั้งขึ้น และตั้งชื่อใหม่ว่า "Hobby horse หรือ Danny horse" ในปี ค.ศ. 1820 von Drais ได้ทำสถิติขึ้นเป็นครั้งแรกในประวิติศาสตร์ของรถจักรยาน โดยขี่ระหว่างเมือง Beaume กับเมือง Dijon ด้วยความเร็ว ชั่วโมงละ 15 กิโลเมตร      ในปี ค.ศ. 1821 นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ชื่อ นาย Louis Gompertz ได้ปรับปรุง Draisienne โดยใส่เกียร์และสลักที่ล้อหน้า แต่ยังคงใช้เท้าไสไปบนพื้น ถ้า ใครที่ขาแข็งแรงดีก็สามารถทำความเร็วได้ 16 - 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง      ต่อมาในปี ค.ศ. 1839 Kirkpatrick MacMillan ช่างทำเกือกม้าชาวสกอตซ์ ได้เปลี่ยน hobby horse มาเป็นรถจักรยาน โดยเลิกการใช้เท้าไสไปบนพื้นดิน และใส่ก้านบันไดที่ล้อหน้าผู้ขี่จะปั่นลูกบันไดและบังคับตัวรถโดยเท้าไม่ต้องแตะพื้นดิน ทำให้มีรูปร่างคล้ายรถจักรยานมากขึ้น      ในปี ค.ศ. 1860 สองพี่น้อง Pirre และ Ernest Michaux ชาวฝรั่งเศษ ได้ประดิษฐ์รถจักรยานที่มีล้อหน้าและล้อหลังเกือบเท่ากัน และใช้ กำลังขับเคลื่อนโดยการติดตั้งก้านบันไดที่ดุมล้อหน้า เรียกว่า Velocipede      Pierre Lallement ซึ่งแยกตัวออกจากครอบครัว Michaux และได้ต่อ Velocipede ขึ้น และได้รับความนิยมมาก ชาวอเมริกัน ให้ฉายาว่า boneshaker      ต่อมาถึงช่วงของผู้ประดิษฐ์ ยอดเยี่ยมชาวอังกฤษชื่อ James Starley ได้ปรับปรุงตามแบบ boneshaker ของ Michaux และภายหลังได้รับ ความสำเร็จในการประดิษฐ์รถจักรยานที่เรียกว่า "Penny Farthing" (เหรียญบาท กับเหรียญสลึง) คือล้อหน้าเหมือนเหรียญ เพ็นนีของอังกฤษ และล้อหลังเล็กเหมือนเหรียญฟาร์ทิง      เนื่องจากรถจักรยานเหรียญบาท และเหรียญสลึงค่อนข้างอันตราย ในปี 1879 H.J. Lawson ได้ประดิษฐ์รถจักรยานนิรภัย ขับเคลื่อนล้อหลัง แต่ไม่ได้ประดิษฐ์สู่ตลาด ต่อมาในปี ค.ศ.1884 James Starly ได้ประดิษฐ์ รถจักรยานแบบนิรภัย ซึ่ง ประกอบด้วยล้อหน้าและล้อหลังเท่ากัน และโซ่โยงไปกับล้อหลัง      ในปี ค.ศ. 1880 Humber และคณะได้ผลิตรถจักรยานตัวถังเป็นรูปขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นแบบอย่างของจักรยานสมัยปัจจุบันนี้      ในปี ค.ศ. 1984 การแข่งขันจักรยานยนต์ในกีฬาโอลิมปิก สหรัฐอเมริกา ได้มีการวิวัฒนาการจักรยานมากที่สุด ตัวถังรถจักรยานเปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นรูปสามเหลี่ยม ให้กับทีมจักรยานแบบทีมเปอร์ซูทของสหรัฐฯ ใช้ในการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิก ความจริงการวิวัฒนาการนี้มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มอนเต้ แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาของอิตาลี ได้ประดิษฐ์จักรยานรูปสามเหลี่ยมให้ ฟรังเดสโก้ โมเชอร์ เวลา 60 นาที สามารถขี่ได้ระยะทาง 50.644 กม. ที่สนาม ในร่มเมืองสตุตการ์ท เยอรมันตะวันตก      จักรยานเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการประชุมรถจักรยานเป็นครั้งแรกที่วังบูรพาภิรมย์ เนื่องในโอกาส ที่กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสด็จกลับจากยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชดำเนิน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2442      ในปัจจุบันมีจักรยานหลายชนิด มีตั้งแต่ 1 ล้อ ไปจนถึงหลายล้อ หรือจักรยานที่มีการดัดแปลงแบบแปลกๆ เช่น มีล้อหน้าใหญ่ แต่ล้อหลังเล็ก จักรยานยัง เป็นเครื่องมือในการแข่งขันกีฬาประเภทหนึ่งด้วย      วันที่ 22 กันยายน และทุกวันอาทิตย์ตลอดเดือนกันยายนเป็นวันปลอดรถ (Car Free Day) มีการรณรงค์ ให้ประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันมาใช้รถจักรยาน เพื่อรถมลภาวะ และรักษาสิ่งแวดล้อมโลก